วิสัยทัศน์ (Vision)
ส่วนที่ 4
วิสัยทัศน์ พันธกิจ จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา
ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา องค์การบริหารส่วนตำบลดอนเงิน
4.1 วิสัยทัศน์ พันธกิจ การพัฒนาท้องถิ่น
วิสัยทัศน์ตำบลดอนเงิน
“ สังคมมีคุณภาพ เศรษฐกิจมั่นคง ”
ภารกิจหลักหรือพันธกิจ
ภารกิจหลักที่ 1 ปรับปรุงและพัฒนาระบบสาธารณูปโภค เส้นทางการคมนาคมให้ได้มาตรฐาน และเพียงพอต่อความต้องการ เพื่อรองรับการขยายตัวของท้องถิ่นและเศรษฐกิจ
ภารกิจหลักที่ 2 ปรับปรุงและพัฒนาการศึกษาและการสาธารณสุข ตลอดจนอนุรักษ์และพัฒนาศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม และภูมิปัญญาท้องถิ่น
ภารกิจหลักที่ 3 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกครัวเรือนมีอาชีพเสริมหรือทำกิจกรรมอันก่อให้เกิดรายได้ สร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัวอย่างยั่งยืน
ภารกิจหลักที่ 4 ส่งเสริม สนับสนุนการประกอบอาชีพหลัก โดยไม่ให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือสุขภาพของผู้บริโภค
ภารกิจหลักที่ 5 ปรับปรุง พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีความยั่งยืน
ภารกิจหลักที่ 6 ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความเข้มแข็งทางสังคม
4.2 จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
1. ดำเนินการก่อสร้างปรับปรุงและซ่อมแซมระบบสาธารณูปโภคและเส้นทางการคมนาคม
2. ยกระดับการศึกษาของประชาชนทุกระดับอย่างทั่วถึง
3. คุณธรรมจริยธรรมตลอดจนสร้างความตระหนักและอนุรักษ์คุณค่าทางวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นและของชาติ
4. ดำเนินการเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยดีถ้วนหน้า
5. ดำเนินการเพื่อให้ประชาชนมีการสันทนาการอย่างมีคุณภาพและเพียงพอ
6. ดำเนินการให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น
7. พัฒนาประสิทธิภาพการผลิตผลการเกษตรโดยปราศจากสารเคมีหรือสารพิษและไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน
4.3 วัตถุประสงค์ในการพัฒนาท้องถิ่น
1. เพื่อให้มีสาธารณูปโภคเส้นทางการคมนาคมที่มีมาตรฐานและเพียงพอต่อความต้องการเพื่อรองรับการขยายตัวของชุมชน และเศรษฐกิจในอนาคต
2. เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ทุกคนได้รับการศึกษาการบริการด้านสาธารณสุข ตลอดจนเพื่อการอนุรักษ์วัฒนธรรมศิลปะอันดีงามและภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้
3. เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวพ้นฐานะจากความยากจน ทำให้เกิดความมั่นคงที่ยั่งยืน
4. ทำให้ผลผลิตจากการประกอบอาชีพปราศจากสารพิษหรือสิ่งเจือปนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภค
5. เพื่อทำให้ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมไม่ถูกทำลายจนเกิดเป็นผลกระทบต่อประชาชน
4.4 ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาท้องถิ่น
ตามที่คณะจัดทำแผนได้ดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาสามปี โดยได้พิจารณาจากข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และได้เสนอต่อที่ประชุม ซึ่งประกอบไปด้วยคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น ประชาคมท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พิจารณาเพื่อคัดเลือกยุทธศาสตร์การพัฒนาและแนวทางการพัฒนาในช่วงสามปี ดังนี้
ลำดับ |
ยุทธศาสตร์ในการพัฒนา |
แนวทางในการพัฒนา |
1.
|
ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านคมนาคม และสาธารณูปโภค
|
แนวทางที่ 1 ก่อสร้าง ปรับปรุง บำรุงรักษา ถนน สะพาน ท่อระบายน้ำ แนวทางที่ 2 ติดตั้งระบบจราจร แนวทางที่ 3 ก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค
|
2.
|
ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
|
แนวทางที่ 1 พัฒนาส่งเสริมอาชีพให้แก่ประชาชนเพื่อเพิ่ม รายได้ แนวทางที่ 2 ส่งเสริมและสนับสนุนผลิตภัณฑ์ชุมชน OTOP แนวทางที่ 3 ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นแหล่งผลิตเนื้อ
|
3.
|
ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสาธารณสุข
|
แนวทางที่ 1 ส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ แนวทางที่ 2 การควบคุมโรค แนวทางที่ 3 ส่งเสริมการบริโภคที่ถูกสุขลักษณะปราศจาก สารพิษ
|
4.
|
ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการศึกษา
|
แนวทางที่ 1 ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงการบริการทาง การศึกษาทั้งในและนอกระบบ
|
ลำดับ |
ยุทธศาสตร์ในการพัฒนา |
แนวทางในการพัฒนา |
5. |
ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านทรัพยากรมนุษย์ |
แนวทางที่ 1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุเด็กเล็ก ผู้พิการผู้ด้อยโอกาสมีชีวิตอบอุ่น สามารถ อยู่กับสังคมได้ แนวทางที่ 2 ส่งเสริมให้เยาวชนห่างไกลสิ่งเสพติด
|
6.
|
ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านทรัพยากร ธรรมชาติ
|
แนวทางที่ 1 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ จัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ธรรมชาติ แนวทางที่ 2 ปรับปรุงประสิทธิภาพในการจัดการเก็บ ขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
|
7.
|
ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านศิลปะ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น |
แนวทางที่ 1 อนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและ ภูมิปัญญาท้องถิ่น
|
8.
|
ยุทธศาสตร์การพัฒนาการเมือง การบริหารงานบุคคล
|
แนวทางที่ 1 พัฒนาและปรับปรุงอาคารสถานที่และวัสดุ อุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน แนวทางที่ 2 ส่งเสริมและพัฒนาด้านบุคลากร แนวทางที่ 3 ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจการของ อบต. แนวทางที่ 4 การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แนวทางที่ 5 ส่งเสริมสนับสนุนการจัดงานวันสำคัญ
|
4.5 ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดมหาสารคาม (พ.ศ.2558 - 2561)
วิสัยทัศน์จังหวัดมหาสารคาม
“เป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรและอาหารคุณภาพ ศูนย์กลางบริการทางการศึกษาและวัฒนธรรม ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี”
ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดมหาสารคาม (พ.ศ.2558 - 2561)
เป้าประสงค์ : ภาคการเกษตรมีความเข้มแข็งและสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับจังหวัด
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 ปรับโครงสร้างการผลิตด้านการเกษตรให้เอื้อต่อการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารคุณภาพ
กลยุทธ์ / แนวทางการพัฒนา
1. พัฒนาระบบการบริหารจัดการทรัพยากร เพื่อการเกษตรให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งพัฒนาปัจจัยการผลิตและกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำ-ปลายน้ำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยและได้มาตรฐาน
3. เสริมสร้างความเข้มแข็งและศักยภาพให้แก่บุคลากรของสถาบันเกษตรกร และเกษตรกร
เป้าประสงค์ : การพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัด เติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืน
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
กลยุทธ์ / แนวทางการพัฒนา
1. พัฒนาการคมนาคม การวางผังเมืองเพื่อเชื่อมโยงเส้นทางสายหลักของประเทศ และรองรับรถไฟรางคู่ ให้เอื้อต่อการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว
2. ส่งเสริมการตลาด และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน
3. ฟื้นฟูและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม โดยให้ความสำคัญกับแหล่งโบราณสถาน ศาสนา และประเพณีพื้นบ้าน
4. ป้องกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม และส่งเสริม อนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเป็นระบบ
เป้าประสงค์ : เป็นศูนย์กลางบริการทางการศึกษาและวัฒนธรรม
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อยกระดับสู่การเป็นศูนย์กลางบริการทางการศึกษาและวัฒนธรรมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กลยุทธ์ / แนวทางการพัฒนา
1. บูรณาการ ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ
2. ส่งเสริมการศึกษา วิจัย และพัฒนาองค์ความรู้ เพื่อบริการทางวิชาการสู่ชุมชน
3. สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการศึกษาและและวัฒนธรรม ทั้งในและต่างประเทศ
เป้าประสงค์ : ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน สู่สังคมเอื้ออาทรและสมานฉันท์
กลยุทธ์ / แนวทางการพัฒนา
1. ส่งเสริมและพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงและคุณธรรม
2. พัฒนาทักษะฝีมือแรงงานเพื่อความมั่นคงทางอาชีพ
3. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิต
4. เสริมสร้างความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน
4.6 นโยบายการพัฒนาของผู้บริหารท้องถิ่น
1. นโยบายพัฒนาด้านการคมนาคมและการสาธารณูปโภค แผนการพัฒนาครอบคลุมทั้ง
15 หมู่บ้าน ดังนี้
1.1 จัดให้มีถนนคอนกรีตเสริมเหล็กภายในหมู่บ้านให้ครบทุกเส้นทาง
1.2 จัดให้มีถนนยกร่องพูนดินบดอัดลงลูกรังตามเส้นทางขนส่งผลผลิตของเกษตรกร
1.3 จัดให้มีเส้นทางคมนาคมติดต่อระหว่างตำบล อำเภอ และหมู่บ้าน โดยจัดให้เป็นถนนลาดยางหรือคอนกรีตเสริมเหล็กตามความเหมาะสม
1.4 จัดให้มีการขยายเขตไฟฟ้าระบบแรงสูงและแรงต่ำให้ทั่วถึงตามความจำเป็น ตลอดจนไฟสว่างภายในหมู่บ้าน
1.5 จัดให้มีร่องระบายน้ำภายในหมู่บ้านตามสภาพหมู่บ้านที่ประสบปัญหา
1.6 จัดให้มีแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและบริโภค
1.7 จัดให้มีการปรับปรุงอาคารสถานที่ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล
2. นโยบายพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
2.1 ส่งเสริมการประกอบอาชีพเพื่อก่อให้เกิดรายได้
2.2 ส่งเสริมกิจกรรมลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ทุกครอบครัว
2.3 ส่งเสริมสนับสนุนผลิตภัณฑ์ OTOP
3. นโยบายพัฒนาด้านการสาธารณสุข
3.1 ส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
3.2 ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ
3.3 จัดอบรมบุคลากรอาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐานและอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน เพื่อช่วยเหลือเบื้องต้นภายในตำบล
4. นโยบายพัฒนาด้านการศึกษา
4.1 ส่งเสริมและพัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน (จัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก)
4.2 ส่งเสริมสถานศึกษาทุกแห่งภายในตำบล อาทิ เช่น
- จัดให้มีมุมสนามเด็กเล่นภายในสถานศึกษาทุกแห่ง
- จัดให้มีการเรียนรู้เพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษาของชุมชน (กศน.)
- จัดตั้งกองทุนเด็กเรียนดีแต่ยากจนทุกระดับ
- ส่งเสริมกองทุนอาหารกลางวัน/ อาหารเสริมนมให้เพียงพอ
- จัดตั้งคณะกรรมการศึกษาระดับตำบลเพื่อส่งเสริมการศึกษาในพื้นที่
5. นโยบายพัฒนาด้านทรัพยากรมนุษย์
5.1 ส่งเสริมสนับสนุนผู้สูงอายุ เด็กเล็ก ผู้พิการตลอดจนผู้ด้อยโอกาสโดยจัดให้มีเบี้ยสวัสดิการและการให้ความช่วยเหลือสามารถดำรงชีวิตอยู่ในชุมชนหรือสังคมอย่างมีความอบอุ่น
5.2 จัดให้มีการแข่งขันกีฬาทุกประเภทตลอดจนกีฬาพื้นบ้านโดยส่งเสริมทั้งเด็กเยาวชนและประชาชนในตำบล
5.3 จัดให้มีการบริการด้านบรรเทาสาธารณภัยแก่ประชาชนผู้ประสบปัญหา
5.4 ส่งเสริมกลุ่มสตรีแม่บ้านภายในตำบลให้มีกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อตำบลดอนเงิน 5.5 จัดให้มีการสร้างบ้านพักให้แก่ผู้ยากไร้
5.6 ส่งเสริมสนับสนุนกองทุนสวัสดิการตำบล
6. นโยบายพัฒนาด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
6.1 ส่งเสริมและสืบสานประเพณีวัฒนธรรมภายในตำบล ดังนี้
- ประเพณีอยู่ดี – กินดี มีการประกวดหมู่บ้าน
- ประเพณีบุญเบิกฟ้า,บุญบั้งไฟ,แห่เทียนเข้าพรรษา,ประเพณีสงกรานต์,ประเพณีเส็งกลองกริ่ง
- จัดให้มีศูนย์อบรมคุณธรรมจริยธรรมทางพระพุทธศาสนาภายในตำบล
7. นโยบายพัฒนาด้านการเมือง และการบริหารงานบุคคล
7.1 จัดให้มีอาคารสถานที่เพื่อรองรับบุคลากรและประชาชนผู้มารับบริการให้เพียงพอ
7.2 จัดให้มีบุคลากรไว้บริการและอำนวยความสะดวกอย่างเพียงพอ
7.3 ส่งเสริมการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
7.4 จัดให้มีวัสดุอุปกรณ์การปฏิบัติงานอย่างเพียงพอ
7.5 ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาตำบล
8. นโยบายพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
8.1 จัดให้มีการจัดเก็บขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลภายในตำบล
8.2 จัดให้มีการปลูกป่าเพิ่มพื้นที่สีเขียว
8.3 จัดให้มีการปรับปรุงภูมิทัศน์ตามแหล่งน้ำสาธารณะ เพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกาย